วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ขนมชาววัง

ขนมไทยชาววัง



ขนมชาววัง


           ขนมชาววังใช้ความละเมียดละไม ประดิดประดอยอยู่หลายขั้นตอน คนสมัยก่อนนิยมส่งลูกหลานที่เป็นผู้หญิงเข้าไปในวัง เพื่อถวายตัวรับใช้เจ้านายในวังตามตำหนักต่างๆ เพื่อฝึกฝนงานฝีมือด้านต่างๆ เช่น งานเย็บปักถักร้อย  จัดดอกไม้ ทำอาหาร หากค้นคว้าตามตำราเก่าๆ จะพูดถึงขนมในวังแท้ๆ อยู่ไม่กี่อย่าง และแต่ละอย่างต้องใช้ความละเอียดประณีต พิถีพิถันทุกขั้นตอนการทำ 



เส้นทางขนมชาววัง

   หลายคนที่เคยมาเที่ยวเกาะเกร็ดแล้ว หรือใครที่ยังไม่เคยมาเที่ยวที่เกาะเกร็ด ก็คงสนใจและสงสัยว่า “เส้นทางขนมชาววัง” คืออะไร??? ถ้าอยากรู้ เรามีคำตอบให้ค่ะ
     เส้นทางขนมชาววัง เป็นเส้นทางที่จะทำให้คุณได้เรียนรู้ และศึกษาเรื่องราวขนมไทยสูตรต้นตำรับชาววัง จากผู้ที่มีความรู้ในด้านนี้โดยเฉพาะ ซึ่งก็ไม่ใช่ใครที่ไหนเลยค่ะ เป็นชาวบ้านซึ่งอาศัยอยู่ในเกาะเกร็ด แต่หลายคนอาจจะสงสัยว่า อ้าวที่นี่เป็นชุมชนของชาวไทยเชื้อสายมอญ แล้วทำไมถึงทำขนมไทยเป็นล่ะ
ในเรื่องนี้ เราได้รับคำตอบมาว่า ในช่วงที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาก่อฤกษ์พระอุโบสถของวัดปรมัยยิกาวาสวรวิหาใหม่นั้น ในช่วงที่ ร.5 เสด็จก็จะมีแม่ครัวในวังหลวงตามเสด็จมากับท่านด้วย ซึ่งในช่วงที่ท่านมาประทับที่เกาะเกร็ด แม่ครัวในวังก็จะเรียกให้ชาวบ้านที่อาศับอยู่ในเกาะเกร็ดเข้าไปช่วยทำครัวด้วย ดังนั้นชาวบ้านชาวเกาะเกร็ด จึงได้ร่ำเรียนการทำขนมไทยสูตรชาววังมาตั้งแต่บัดนั้น และได้นำมาถ่ายทอดให้กับลูกหลาน จนมีการสืบทอดกันอย่างต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ไงล่ะค่ะ
สำหรับเส้นทางขนมชาววังนั้นก็เกิดขึ้นจากการรวบรวมบ้านของสมาชิก กลุ่มขนมมงคลเกาะเกร็ด  และบ้านอื่นๆ ที่ก็ทำขนมหวาน, ขนมไทย และขนมมอญ สูตรต้นตำรับดั้งเดิมค่ะ ซึ่งเส้นทางขนมชาววังนี้ ก็จะประกอบด้วย ร้านแก่นจันทร์, ร้านพลายชุมพล (เจ๊เล็ก), ร้านแม่พยอม และร้านขนมมงคลคุณยุพินค่ะ




ขนมหม้อตาล





ขนมนี้ก้เป็นขนมอีกชนิดหนึ่งที่จะใช้กันในงานแต่งคะมักจะเรียกว่า หม้อเงิน หม้อทองคะ ขนมชนิดนี้มีรสหวานกำลังดีที่พอได้ชิมจะได้รสของแป้งกันน้ำตาลที่ลงตัวคะ


ขนมพระพาย



เป็นขนมอีกชนิดหนึ่งที่ใช้ในงานแต่งงานคะ ขนมนี้ทำมาแป้งนวดกับน้ำมะลิและสอดไส้ซึ่งไส้ของขนมชนิดนี้มีรสหวานอรอยมากคะ


ขนมตะลุ่ม



      ขนมนี้จะมียุ2ส่วนคะ ส่วนตัวขนมทำจากแป้งข้าวเจ้า แป้งเท้าย่ายม่อม แป้งมันสำปะหลัง น้ำปูนใสและหางกะทิ และนำไปนึ่ง ส่วนตัวหน้าทำจาก กะทิและน้ำตาล ใส่แป้งข้าวเจ้าเล็กน้อย แล้วเทบนตัวขนมนำไปนึ่ง ตอนรับประทานควรทานพร้อมกันเพราะมันจะให้รสชาติที่ลงตัวมากคะ


ขนมบุหลันดั๋นเมฆ



ขนมชนิดนี้จะเป็นขนมที่ชาววังคิดขึ้นมา ให้มีสีสันเปลียบแบบบทเพลงของไทย บุหลันลอยเลื่อน ซึ่งเป็นบทเพลงพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2  เมื่อรับประทานจะให้รสหมอหวานของดอกอัญชัน กับ กลิ่นน้ำตาลมะพร้าวคะ


ขนมเกสรชมพู



ขนมชนิดนี้มองครั้งแรกอาจจะคิดว่สนี้คือ ข้าวเหนียวแก้ว แต่ถ้ามองดีดีจะเห็นข้อแตกต่างกันตรงที่ความแข็งกะด้างของข้าวเหนียวคะ  ส่วนเรื่องรสชาติขนมชนิดนี้จะมีความมันและหอทไปในตัวของมะพร้าวและยังมีความหวานที่ไม่เหมือนใครคะ


ขนมจี้้



เป็นขนมไทยชาววังที่หากินไม่ได้แล้วในยุคนี้ ส่วนผสมทำด้วยแป้งข้าวเหนียวผสมกับแป้งข้าวเจ้า แล้วนวดกับกะทิ ปั้นเป็นก้อนกลมๆ แบนๆ มีไส้ที่ทำด้วยน้ำตาลทรายเคี่ยวผสมกับงาคั่ว จากนั้นคลุกกับนวลแป้งข้าวเจ้าที่คั่วสุกแล้ว รสหวานและมีกลิ่นหอม ว่ากันว่าเวลาหยิบใส่ปากแล้วต้องรีบหุบปาก มิเช่นนั้นนวลแป้งที่คลุกขนมจะฟุ้งคะ


ขนมทองเอก


 ขนมไทยที่มีส่วนผสมของแป้งสาลี น้ำตาล ไข่แดง และกะทิ กวนจนข้น แล้วนำใส่แม่พิมพ์ให้ได้รูปตามที่ต้องการ จากนั้นจึงแคะออกจากแม่พิมพ์ แล้วนำมาอบด้วยเทียนอบ
ขนมทองเอกในสมัยโบราณนั้นได้มีการนำทองคำเปลวมาตัดเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมเล็กๆ มาประดับไว้ด้านบนของขนมทองเอก โดยใช้วิธีการวางแผ่นทองคำเปลววางไว้บนแม่พิมพ์ก่อนเทขนมทองเอกลงในแม่พิมพ์ แต่ปัจจุบันไม่มีการนำทองคำเปลวมาตกแต่งขนมทองเอก เนื่องจากทองคำเปลวเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้รับประทาน



ขนมอาลัว



นำมะพร้าวขูดไปผสมกับน้ำลอยดอกมะลิ จากนั้นนำไปคั้นจนได้น้ำกระทิ  นำแป้งสาลี, แป้งถั่วเขียว และแป้งมันร่อนผสมกัน  นำน้ำกะทิผสมกับแป้งและน้ำตาล คนจนละลายเข้ากันดี จึงนำไปกรองด้วยผ้าขาวบาง เสร็จแล้วนำไปตั้งบนไฟร้อนปานกลาง ใส่สีผสมอาหารลงไป และกวนเรื่อยจนส่วนผสมทุกอย่างเข้ากันดี (แป้งจะมีลักษณะเหนียวใสๆ ถ้านำไปหยอดในน้ำ แล้วแป้งยังคงรูปอยู่ก็เป็นอันใช้ได้)  นำน้ำแป้งที่ได้ตักใส่ถุงบีบ แล้วจึงบีบลงในถาดที่ทาเนยขาวบาง ๆ แล้วจึงนำไปตากแดดสัก 2 - 3 แดด เสร็จแล้วนำไปอบควันเทียน  จัดใส่จานเสริฟได้ทันที หรือใส่กระปุกมิดชิดเก็บไว้รับประทานภายหลังได้